การชำระภาษี
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
เป็นภาษีที่จัดเก็บจาก บ้านเช่า ตึกแถว อาคาร สำนักงาน ร้านค้า ร้านอาหาร ร้านเสริมสวย โรงสี อู่ซ่อมรถยนต์ - รถจักรยานยนต์ ฯลฯ นั้น
เอกสารหลักฐานที่นำมาใช้ในการติดต่อ
1. สำเนาโฉนดที่ดิน สัญญาซื้อขาย สำเนาสัญญาเช่า
2. สำเนาใบอนุญาตปลูกสร้างอาคาร
3. สำเนาหนังสือของสำนักทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท
4. ทะเบียนพาณิชย์ ใบทะเบียนมูลค่าเพิ่ม
5. สำเนาทะเบียนบ้าน บัตรประจำตัวประชาชน
6. แผนที่แสดงที่ตั้งโรงเรือน
7. หนังสือมอบอำนาจพร้อมติดอากร (กรณีมอบอำนาจ)
การยื่นแบบประเมิน,ชำระภาษี และการอุทธรณ์
1. เจ้าของทรัพย์สินหรือผู้มอบอำนาจยื่นแบบแสดงรายการ (ภ.ร.ด.2) ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ (ผู้ใดละเลยไม่ยื่นแบบแสดงรายการมีความผิดโทษปรับไม่เกิน 200 บาท และเรียกเก็บย้อนหลังได้ไม่เกิน 10 ปี)
2. ผู้รับประเมินต้องชำระเงินภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับและแจ้งการประเมิน (ภ.ร.ด.8)
3. หากผู้รับประเมินไม่พอใจในการประเมินให้ยื่นคำร้องของอุทธรณ์ภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งการประเมิน (ภ.ร.ด.8)
ชำระค่าภาษีเกินกำหนด 30 วัน ให้เสียเงินเพิ่มดังนี้
1. ถ้าชำระไม่เกิน 1 เดือนนับจากวันที่พ้นกำหนดให้เพิ่ม 2.5%
2. เกิน 1 เดือนแต่ไม่เกิน 2 เดือนเสียเงินเพิ่ม 5%
3. เกิน 2 เดือนแต่ไม่เกิน 3 เดือนเสียเงินเพิ่ม 7.5%
4. เกิน 3 เดือนแต่ไม่เกิน 4 เดือนเสียเงินเพิ่ม 10%
5. เกิน 4 เดือนขึ้นไปให้ยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินโดยมิต้องให้ศาลสั่ง
ภาษีบำรุงท้องที่
เป็นภาษีที่จัดเก็บจากเจ้าของที่ดิน ผู้ครอบครองที่ดินปีละ 1 ครั้ง ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงสิ้นเดือนเมษายน ผู้ที่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินใหม่ หรือเนื้อที่ดินเปลี่ยนแปลงให้ยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน (ภ.บ.ท.5) ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่โอนกรรมสิทธิ์
เอกสารหลักฐานที่นำมาใช้ในการติดต่อ
1. หลักฐานแสดงการเป็นเจ้าของที่ดิน เช่า สำเนาโฉนด นส.3 ก.
2. สำเนาทะเบียนบ้าน บัตรประจำตัวประชาชน
3. สำเนาใบเสร็จรับเงินปีสุดท้าย (ถ้ามี)
4. หนังสือมอบอำนาจพร้อมติดอากร (กรณีมอบอำนาจ)
5. สำเนาหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดิน
ภาษีค้างชำระ
1. ไม่ยื่นแบบภายในกำหนดเสียเงินเพิ่ม 10% ของค่าภาษี
2. ยื่นรายการไม่ถูกต้อง ค่าภาษีน้อยลงต้องเสียเงินเพิ่ม 10% ของภาษีประเมินเพิ่มเติม
3. แจ้งจำนวนเนื้อที่ดินไม่ถูกต้อง ค่าภาษีน้อยลง ต้องเสียเงินเพิ่มอีก 1 เท่า ของค่าภาษีประเมินเพิ่ม
4. ชำระภาษีเกินกำหนด 30 เมษายน ต้องเสียเงินเพิ่ม ร้อยละ 2 ต่อเดือน ของค่าภาษีเศษของเดือนนั้นนับเป็น 1 เดือน
ภาษีป้าย
เป็นภาษีจัดเก็บจากป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายการค้าหรือโฆษณาหารายได้ไม่ว่าจะแสดงไว้ที่วัตถุใดหรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่นใด
เอกสารหลักฐานที่นำมาใช้ในการติดต่อ
1. สำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชน
2. สำเนาหนังสือรับรองสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท
3. รายละเอียดเกี่ยวกับป้าย ทั้งลักษณะข้อความ ภาพ ขนาด รูปร่างและรูปตัวของป้าย (ถ้ามี)
4. แผนที่แสดงถึงสถานที่ติดตั้งหรือแสดงป้าย
5. หนังสือมอบอำนาจพร้อมติดอากร (กรณีมอบอำนาจ)
การยื่นแบบการประเมิน และชำระภาษีป้าย
1. เจ้าของหรือผู้ครอบครองป้ายยื่นแบบตั้งแต่เดือนมกราคมถึงสิ้นเดือนมีนาคม ถ้าไม่สามารถหาตัวเจ้าของได้ ให้ผู้ครอบครองอาคารหรือเจ้าของป้ายนั้นตั้งอยู่เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษี
2. ชำระภาษีป้ายภายใน 15 วัน นับตั้งแต่ได้รับแจ้งการประเมินจากพนักงานเจ้าหน้าที่
3. ถ้าภาษีป้ายตั้งแต่ 3,000 บาท ขึ้นไป สามารถขอผ่อนชำระเป็น สามงวดได้การอุทธรณ์
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายได้รับแจ้งการประเมินแล้ว ถ้าเห็นว่าไม่ถูกต้อง ให้ยื่นคำร้องอุทธรณ์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบ ภ.ป.4 ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน
ภาษีป้ายค้างชำระ
1. ไม่ยื่นแบบภายในเดือนมีนาคม หรือหลังติดป้ายภายใน 15 วันเสียเงินเพิ่ม 10% ของค่าภาษี
2. ยื่นแบบไม่ถูกต้องค่าภาษีน้อยลงเสียเงินเพิ่ม 10% ของค่าภาษีประเมินเพิ่มเติม
3. ไม่ชำระเงินภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมนเสียเงินเพิ่ม 2 % ต่อเดือนของค่าภาษี
- ผู้ใดจงใจไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 50,000 บาท
ป้ายที่ติดตั้งบนอสังหาริมทรัพย์ของบุคคลอื่น และมีพื้นที่เกิน 2 ตารางเมตร ต้องมีชื่อและที่อยู่ของ เจ้าของป้ายเป็นตัวอักษรไทยที่ชัดเจนที่มุมขวาด้านล่างของป้าย ผู้ใดไม่ปฏิบัติต้องระวางโทษปรับ วันะ 100 บาท เรียงรายวันตลอดระยะเวลาที่กระทำความผิด
- ผู้ใดไม่แจ้งการรับโอนป้าย ภายใน 30 วัน ตั้งแต่วันรับโอน ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 1,000 บาทถึง 10,000 บาท
อัตราภาษีป้าย
1. ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน ให้คิดอัตรา 3 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
2. ป้ายที่มีอักษรไทยปนอักษรต่างประเทศ หรือปนภาพและหรือเครื่องหมายอื่น ให้คิดอัตรา 20 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
3. ป้ายดังต่อไปนี้ ให้คิดอัตรา 40 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
(ก) ป้ายที่ไม่มีอักษรไทย ไม่ว่าจะมีภาพ
หรือเครื่องหมายใดหรือไม่
(ข) ป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้
หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ
4. ป้ายตาม (1) (2) หรือ 3 เมื่อคำนวณพื้นที่ของป้ายแล้ว ถ้ามีอัตราที่ต้องเสียภาษีต่ำกว่าป้ายละ 200 บาท ให้เสียภาษีป้ายละ 200 บาท
ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ
ผู้รับใบอนุญาตประกอบการค้าต้องยื่นคำร้องขอต่ออายุใบอนุญาตฯภายในกำหนด 30 วันก่อนสิ้นอายุใบอนุญาตฯ หากผู้ประกอบการค้าที่มาขอต่ออายุใบอนุญาตรายใดไม่ชำระค่าธรรมเนียมตามกำหนดเวลาจะต้องเสียค่าปรับอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
เอกสารหลักฐานที่นำมาใช้ติดต่อ
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 2. สำเนาทะเบียนบ้าน
ติดต่อสอบถามรายละเอียดการชำระภาษีได้ที่
ส่วนการคลัง งานพัฒนาและจัดเก็บรายได้
องค์การบริหารส่วนตำบลคันไร่ อำเภอสิรินธร
จ.อุบลราชธานี โทรศัพท์/โทรสาร 045-849218