ประวัติความเป็นมา

New category

doc

2166

Size: 886.27 KB
Hits : 19
Date added: 2567-08-05

 ปัจจุบันองค์การบริหารส่วนตำบลคันไร่ เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง ตั้งอยู่บ้านดอนชี หมู่ที่ 10 ตำบลคันไร่ อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี โดยตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ประมาณ 15 กิโลเมตร โทรศัพท์/โทรสาร : 045-251997 Facebook : https://www.facebook.com/profile.php?id=100009835837758&fref=ts  E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. 

ส่วนที่ 1 สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

  1. ด้านกายภาพ

1.1 ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือตำบล
          องค์การบริหารส่วนตำบลคันไร่ มีหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในการปกครองทั้งหมด 16 หมู่บ้าน  ดังนี้
มีพื้นที่ จำนวน 78 ตารางกิโลเมตร

                    หมู่ที่    1        บ้านหนองเบ็น

                    หมู่ที่    2        บ้านโคกเที่ยง

                    หมู่ที่    3        บ้านห้วยน้ำใส

                    หมู่ที่    4        บ้านปากบุ่ง

                    หมู่ที่    5        บ้านนาเจริญ

                    หมู่ที่    6        บ้านดอนม่วง

                    หมู่ที่    7        บ้านป่ากุง

                    หมู่ที่    8        บ้านสุ่งช้าง

                    หมู่ที่    9        บ้านคันไร่ (ใต้)

                    หมู่ที่    10      บ้านดอนชี

                    หมู่ที่    11      บ้านคันไร่ (เหนือ)

                    หมู่ที่    12      บ้านหนองโดน

                    หมู่ที่    13      บ้านโชครังสรรค์

                    หมู่ที่    14      บ้านสุขเกษม

                    หมู่ที่    15      บ้านใหม่ภูทอง

                    หมู่ที่    16      บ้านหนองนกเขียน

           ปัจจุบันองค์การบริหารส่วนตำบลคันไร่ เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง ตั้งอยู่บ้านดอนชี หมู่ที่ 10 ตำบลคันไร่ อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี โดยตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอ   สิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ประมาณ 16 กิโลเมตร

โทรศัพท์/โทรสาร : 045-251997

Facebook : https://www.facebook.com/profile.php?id=100009835837758&fref=ts 

E-mail :  This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

 1.2 ลักษณะภูมิประเทศ

          สภาพภูมิประเทศขององค์การบริหารส่วนตำบลคันไร่ เป็นที่ราบและที่ดอน มีป่าไม้และแม่น้ำ ดินเป็นดินร่วนปนทราย  พื้นที่ส่วนใหญ่ใช้ในการทำการเกษตรกรรม

1.3 ลักษณะภูมิอากาศ

ลักษณะอากาศมีลักษณะร้อนชื่น อากาศเปลี่ยนแปลงไปตามฤดู  ซึ่งมี  3  ฤดู ดังนี้

ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม  อากาศร้อนและแห้งแล้ง  แต่บางครั้งอาจมีอากาศเย็น บ้างครั้งเกิดพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงหรืออาจมีลูกเห็บตกก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนทุกปี เรียกว่า “พายุฤดูร้อน” อากาศร้อน จะมีอุณหภูมิระหว่าง 35 – 39.9 องศาเซลเซียส  ร้อนจัด  มีอุณหภูมิประมาณ  40  องศาเซลเซียสขึ้นไป

ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม ฝนตกมากในช่วงเดือน พฤษภาคม – ตุลาคม  แต่อาจเกิด“ช่วงฝนทิ้ง” ซึ่งอาจนานประมาณ 1 - 2 สัปดาห์หรือบางปีอาจเกิดขึ้นรุนแรงและมีฝนน้อยนานนับเดือน ในเดือนกรกฎาคม  แต่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคันไร่ไม่เคยเกิดอุทกภัยรุนแรง  

 ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ในช่วงกลางเดือนตุลาคมนานราว 1 – 2  สัปดาห์ เป็นช่วงเปลี่ยนฤดูจากฤดูฝนเป็นฤดูหนาว อากาศแปรปรวนไม่แน่นอน อาจเริ่มมีอากาศเย็นหรืออาจยังมีฝนฟ้าคะนอง

 1.4 ลักษณะของดิน

                   ลักษณะดินโดยทั่วไปเป็นดินร่วนปนทราย  ประมาณ  75% ดินลูกรังประมาณ 15% ลักษณะดินในพื้นที่เป็นดินเหนียวประมาณ 10% 

 1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำ

          มีแห่งน้ำที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและองค์การบริหารส่วนตำบลคันไร่ ได้ดำเนินการปรับปรุงก่อสร้างขึ้นใหม่เพื่อให้เพียงพอกับการอุปโภคและบริโภคของประชาชน ดังนี้

          แม่น้ำ                          จำนวน           2        สาย

          ห้วย/หนอง/คลอง/บึง     จำนวน           21      แห่ง/สาย

          คลองชลประทาน           จำนวน           10      แห่ง

          บ่อบาดาลสาธารณะ       จำนวน           16      แห่ง

 1.6 ลักษณะของไม้และป่าไม้

          ลักษณะของไม้เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ

 ด้านการเมือง/การปกครอง

          องค์การบริหารส่วนตำบลคันไร่ มีทั้งหมด 16 หมู่บ้าน ประชาชนให้ความร่วมมือด้านการเลือกตั้งเป็นอย่างดี เช่น การเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น ในปี พ.ศ.2556 ประชาชนมาใช้สิทธิเลือกตั้ง สามารถเปรียบเทียบได้ ดังนี้

ประเภทการเลือกตั้ง

จำนวน

ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง

จำนวน

ผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้ง

คิดเป็นร้อยละ

ผู้บริหารท้องถิ่น (นายกฯ)

9,017

6,154

78.93

สมาชิกสภาท้องถิ่น (ส.อบต.)

9,017

6,147

78.84

ปัญหาเกี่ยวกับการเลือกตั้งคือการแข่งขันทางการเมืองค่อนข้างสูง มีจุดที่น่าสังเกตคือ มีการย้ายเข้าย้ายออกช่วงที่จะมีการเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นการเลือกผู้ใหญ่บ้าน  สมาชิกสภาท้องถิ่น  ผู้บริหารท้องถิ่นโดยเฉพาะ การคัดเลือกผู้ใหญ่บ้าน  การแก้ไขปัญหาขององค์การบริหารส่วนตำบลคือ  ขอความร่วมมือ  ผู้นำ  เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่รับผิดชอบให้ระมัดระวัง สอดส่องพฤติกรรมและให้รายงานอำเภอทราบ  การรณรงค์  ประชาสัมพันธ์  ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง  เกี่ยวกับข้อกฎหมายของการเลือกตั้งที่กระทำได้และทำไม่ได้ให้ประชาชนได้รับทราบ ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น   องค์การบริหารส่วนตำบลก็ได้พยายามแก้ไข  โดยเรื่องจากการประชุมประชาคมท้องถิ่นทุกหมู่บ้าน ในการจัดทำแผนพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลคันไร่

จากผลการประชุมทุกครั้งที่องค์การบริหารส่วนตำบลคันไร่จัดขึ้น มีประชาชนสนใจเข้าร่วมประชุมรวมทั้งแสดงความคิดเห็นที่หลากหลาย ส่งผลให้องค์การบริหารส่วนตำบลคันไร่ ดำเนินงานตามความต้องการของประชาชน และประชาชนได้รับและมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล

นอกจากนี้องค์การบริหารส่วนตำบลคันไร่ ได้จัดโครงการอื่นๆ เพื่ออบรมให้ความรู้ และฝึกอาชีพให้ประชาชนผู้ที่สนใจ อีกหลายโครงการ เพื่อนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับมาพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลคันไร่ ให้เจริญเท่าเทียมกับองค์การบริหารส่วนตำบลอื่นๆ และองค์การบริหารส่วนตำบลมีโครงการจัดซื้อเครื่องมือเครื่องใช้ในการปฏิบัติงานให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ โครงการบางโครงการต้องระงับไว้เนื่องจากข้อจำกัดด้านงบประมาณ โดยองค์การบริหารส่วนตำบลคันไร่ แบ่งเขตการปกครอง ดังนี้

 2.1 เขตการปกครอง

องค์การบริหารส่วนตำบลคันไร่  มีหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในการปกครอง ทั้งหมดจำนวน  16  หมู่บ้าน มีจำนวนครัวเรือนประมาณ  3,782  ครัวเรือน  มีประชากรประมาณ 11,990 คน โดยแยกเป็นชาย จำนวน 6,126 คน  แยกเป็นหญิง  จำนวน  5,864  คน  (ข้อมูลจากทะเบียนราษฎร์อำเภอสิรินธร ณ วันที่   พฤษภาคม 2566) มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 78 ตารางกิโลเมตร  มีอาณาเขตโดยสังเขป  ดังนี้

                    ทิศเหนือ          ติดกับตำบลคำเขื่อนแก้ว  อำเภอสิรินธร   จังหวัดอุบลราชธานี

                    ทิศใต้             ติดกับตำบลดอนจิก  อำเภอพิบูลมังสาหาร   จังหวัดอุบลราชธานี

                    ทิศตะวันออก     ติดกับตำบลนิคมลำโดมน้อย  อำเภอสิรินธร  จังหวัดอุบลราชธานี

                           ทิศตะวันตก      ติดกับตำบลกุดชมภู อำเภอพิบูลมังสาหาร   จังหวัดอุบลราชธานี

          เขตการปกครอง องค์การบริหารส่วนตำบลคันไร่  มีทั้งหมด 16 หมู่บ้าน ดังนี้

หมู่ที่

ชื่อหมู่บ้าน

ชื่อผู้นำหมู่บ้าน

จำนวนประชากร

รวม

จำนวนครัวเรือน

หมายเหตุ

ชาย

หญิง

1

บ้านหนองเบ็น

นายบุญมี  โลมทอง

240

227

467

138

 

2

บ้านโคกเที่ยง

นายสายทอง   บุญมาก

643

617

1,260

387

(กำนัน)

3

บ้านห้วยน้ำใส

นายบรรลุ  แก้วอาจ

299

281

580

165

 

4

บ้านปากบุ่ง

นายนิคม        พูลศรี

451

410

861

270

 

5

บ้านนาเจริญใน

นายจรวด       มาลาวัลย์

264

254

518

141

 

6

บ้านดอนม่วง

นายสีใส สมเสาร์

390

369

759

210

 

7

บ้านป่ากุง

นายบรรยง     สืบบุญ

299

282

581

157

 

8

บ้านสุ่งช้าง

นางนารี         ศิริพันธ์

294

290

584

208

 

9

บ้านคันไร่ใต้

นายสีจันทร์     ทรัพย์ศิริ

394

396

790

287

 

10

บ้านดอนชี

นายบุญมา       จูมทอง

262

263

525

182

 

11

บ้านคันไร่เหนือ

นายเสถียร      วงศ์พันธ์

527

469

996

366

 

12

บ้านหนองโดน

นายบุญหลาย ประสานสอน

410

360

770

243

 

13

บ้านโชครังสรรค์

นายทองพูล    แสนทวีสุข

555

88

1,143

406

 

14

บ้านสุขเกษม

นายสมบรูณ์     ทรายมูล

671

629

1,300

346

 

15

บ้านใหม่ภูทอง

นายคำแพง      คูณภาค

209

218

427

158

 

16

บ้านหนองนกเขียน

นายสมชาย  มูลสิทธิ์

218

211

429

118

 

 

รวมทั้งสิ้น

6,126

5,864

11,990

3,782

 

ข้อมูล ณ   พฤษภาคม พ.ศ. 2566

           2.2 การเลือกตั้ง

                   องค์การบริหารส่วนตำบลคันไร่ ได้แบ่งเขตการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลคันไร่ เป็น 1 เขต เลือกตั้ง สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ออกเป็น 18 เขต ดังนี้

เขตเลือกตั้งที่

หมู่บ้าน

สถานที่

1

หนองเบ็น

ศาลากลางบ้านหนองเบ็ญ

2

โคกเที่ยง (บ้านเลขที่ 1-170)

ศาลากลางบ้านโคกเที่ยง

3

โคกเที่ยง (บ้านเลขที่ 171-9809)

ศาลาวัดโคกเที่ยง

4

ห้วยน้ำใส

อาคารโรงเรียนบ้านห้วยน้ำใส

5

ปากบุ่ง

ศาลากลางบ้านปากบุ่ง

6

นาเจริญ

ศาลาวัดบ้านนาเจริญ

7

ดอนม่วง

ศาลาวัดดอนม่วง

8

ป่ากงุ

ศาลากลางบ้าน

9

สุ่งช้าง

ศาลาวัดสุ่งช้าง

10

คันไร่ (ใต้)

ศาลากลางบ้านคันไร่ (ใต้)

11

ดอนชี

อาคารเรียนโรงเรียนบ้านดอนชี

12

คันไร่ (เหนือ)

ศาลาประชาคมบ้านคันไร่ (เหนือ)

13

หนองโดน

ศาลาวัดทุ่งศรีวิไล

14

โชครังสรรค์

ศาลาประชาคมบ้านโขครังสรรค์

15

สุขเกษม (บ้านเลขที่1-115)

ศาลาวัดทุ่งเกษม

16

สุขเกษม (บ้านเลขที่116-343)

ศาลากลางบ้านสุขเกษม

17

ใหม่ภูทอง

ศาลากลางบ้านใหม่ภูทอง

18

หนองนกเขียน

วัดบ้านหนองนกเขียน

            

จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง

          - จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล       จำนวน  9,017  คน

          - จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 9,017 คน

จำนวนผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้ง

          - จำนวนผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน   6,154    คน คิดเป็นร้อยละ 78.93

- จำนวนผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล  จำนวน   6,147  คน  คิดเป็นร้อยละ 78.84

 

  1. ประชากร

          3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร

หมู่ที่

ชื่อหมู่บ้าน

ชื่อผู้นำหมู่บ้าน

จำนวนประชากร

รวม

จำนวนครัวเรือน

หมายเหตุ

ชาย

หญิง

1

บ้านหนองเบ็น

นายบุญมี  โลมทอง

240

227

467

138

 

2

บ้านโคกเที่ยง

นายสายทอง   บุญมาก

643

617

1,260

387

(กำนัน)

3

บ้านห้วยน้ำใส

นายคงคา       หงษ์ลอย

299

281

580

165

 

4

บ้านปากบุ่ง

นายนิคม        พูลศรี

451

410

861

270

 

5

บ้านนาเจริญใน

นายจรวด       มาลาวัลย์

264

254

518

141

 

6

บ้านดอนม่วง

นายปรีชา       ดวงคำ

390

369

759

210

 

7

บ้านป่ากุง

นายบรรยง     สืบบุญ

299

282

581

157

 

8

บ้านสุ่งช้าง

นางนารี         ศิริพันธ์

294

290

584

208

 

9

บ้านคันไร่ใต้

นายสีจันทร์     ทรัพย์ศิริ

394

396

790

287

 

10

บ้านดอนชี

นายบุญมา       จูมทอง

262

263

525

182

 

11

บ้านคันไร่เหนือ

นายเสถียร      วงศ์พันธ์

527

469

996

366

 

12

บ้านหนองโดน

นายบุญหลาย ประสานสอน

410

360

770

243

 

13

บ้านโชครังสรรค์

นายทองพูล    แสนทวีสุข

555

88

1,143

406

 

14

บ้านสุขเกษม

นายสมบรูณ์     ทรายมูล

671

629

1,300

346

 

15

บ้านใหม่ภูทอง

นายคำแพง      คูณภาค

209

218

427

158

 

16

บ้านหนองนกเขียน

นายสมชาย  มูลสิทธิ์

218

211

429

118

 

 

รวมทั้งสิ้น

6,126

5,864

11,990

3,782

 

ข้อมูล ณ เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2566

     สภาพทางสังคม

          4.1 การศึกษา

จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า ประชากรอายุ  15 - 60 ปีเต็ม ร้อยละ 99  อ่าน  เขียนภาษาไทยและคิดเลขอย่างง่ายได้  เด็กอายุ  6 - 14  ปี  ร้อยละ  100 ได้รับการศึกษาภาคบังคับ 9  ปี  ได้เรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  หรือเทียบเท่า และที่ไม่ได้เรียนต่อมีงานทำ ร้อยละ  99 ด้านการศึกษาอยู่ในเกณฑ์ที่ดี  ปัญหาคือ  ยังไม่สามารถที่จะแข่งขันกับเมืองใหญ่ๆ ได้  การแก้ปัญหาขององค์การบริหารส่วนตำบลคันไร่  ได้จัดกิจกรรมให้กับเด็กของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  การสนับสนุนอาหารเสริมนม  อาหารกลางวัน ในกับทางโรงเรียนในเขตพื้นที่ และร่วมกันจัดกิจกรรมต่างๆ กับทางโรงเรียน  

การศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลคันไร่ มีสถานศึกษา/แหล่งที่ให้ความรู้กับเด็กนักเรียน จำนวน 15 แห่ง  ดังนี้

  1. โรงเรียนที่เปิดสอนในระดับชั้นประถมศึกษา ถึงมัธยมศึกษาตอนต้น (ขยายโอกาส) 

ที่

ชื่อโรงเรียน

ที่ตั้ง

ปี 2565

ปี 2566

นักเรียน

ครู

นักเรียน

ครู

1.

โรงเรียนบ้านโคกเที่ยง  

หมู่ที่ 2 

145

19

148

19

2.

โรงเรียนบ้านคันไร่    

หมู่ที่ 11  

195

22

179

22

 

  1. โรงเรียนที่เปิดสอนระดับชั้นประถมศึกษา (ป.1-ป.6)

 

ที่

ชื่อโรงเรียน

ที่ตั้ง

ปี 2565

ปี 2566

นักเรียน

ครู

นักเรียน

ครู

1.

โรงเรียนบ้านห้วยน้ำใส    

หมู่ที่  3

84

6

82

6

2.

โรงเรียนบ้านปากบุ่ง 

หมู่ที่  4

77

7

72

7

3.

โรงเรียนบ้านดอนชีเวิน  

หมู่ที่ 10

80

9

78

9

 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 10 ศูนย์ ได้แก่

ที่

ชื่อโรงเรียน

ที่ตั้ง

ปี 2565

ปี 2566

นักเรียน

ครู ผดด.

ผดด.

นักเรียน

ครู ผดด.

ผดด.

1.

ศูนย์พัฒนาเด็กบ้านโคกเที่ยง

หมู่ที่  2

37

2

3

52

2

3

2.

ศูนย์พัฒนาเด็กบ้านห้วยน้ำใส

หมู่ที่   3

16

1

1

16

1

1

3.

ศูนย์พัฒนาเด็กบ้านปากบุ่ง

หมู่ที่   4

22

1

2

42

1

2

4.

ศูนย์พัฒนาเด็กบ้านนาเจริญใน

หมู่ที่   5

12

1

1

13

1

1

5.

ศูนย์พัฒนาเด็กบ้านดอนม่วง

หมู่ที่   6

40

1

3

45

1

3

6.

ศูนย์พัฒนาเด็กบ้านป่ากุง

หมู่ที่   7

22

1

1

24

1

1

7.

ศูนย์พัฒนาเด็กบ้านดอนชีเวิน

หมู่ที่  10

31

1

2

25

1

2

8.

ศูนย์พัฒนาเด็กบ้านคันไร่ 

หมู่ที่  11

31

2

2

35

2

2

9.

ศูนย์พัฒนาเด็กบ้านหนองโดน

หมู่ที่  12

24

2

3

26

2

3

10.

ศูนย์พัฒนาเด็กบ้านสุขเกษม

หมู่ที่  14

25

1

1

26

1

1

 

รวมทั้งสิ้น

 

216

13

13

236

13

13

 

หมายเหตุ        1. ครู ผดด.       หมายถึง ครูผู้ดูแลเด็ก (ข้าราชการ)

  1. ผดด. หมายถึง ผู้ดูแลเด็ก

           4.2 สาธารณสุข

                   จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า ประชาชนส่วนมากมีสุขภาพที่ดี มีการคัดกรองสุขภาพให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยง โรคที่มักเกิดแก่ประชาชนในหมู่บ้าน ได้แก่ โรคความดัน เบาหวาน โรคไข้เลือดออก มือ-ปาก-เท้าในเด็ก และโรคอื่นๆ อีกมาก มีสถิติเข้ารับการรักษาพยาบาล ปัญหาคือประชาชนบางรายไม่ยอมไปคัดกรองหรือตรวจสุขภาพประจำปี จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐาน บางครัวเรือนไม่ได้กินอาหารที่ถูกสุขลักษณะ การใช้ยาเพื่อบำบัดอาการเจ็บป่วยที่ไม่เหมาะสม การออกกำลังกายไม่สม่ำเสมอ และประชากรส่วนมากไม่ได้รับการตรวจสุขภาพ ปัญหาเหล่านี้องค์การบริหารส่วนตำบลคันไร่พยายามอย่างยิ่งที่จะแก้ไข โดยร่วมมือกับโรงพยาบาล สาธารณสุข จัดกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหา องค์การบริหารส่วนตำบลคันไร่ มีหน่วยพยาบาลที่ให้บริการประชาชนในเรื่องของการรักษาพยาบาล ดังนี้ 

ลำดับที่

ชื่อองค์กร

จำนวนบุคลากร

หมายเหตุ

ปี 2565

ปี 2566

1

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคันไร่

11

10

หมู่ที่ 11

2

คลินิกเอกชน หมู่ที่ 13

1

1

1 แห่ง

3

คลินิกเอกชน หมู่ที่ 14

1

1

1 แห่ง

4

ผู้สูงอายุ

1,567

1,683

รวมทั้งตำบล

5

ผู้พิการ

450

418

รวมทั้งตำบล

6

ผู้ป่วยเอดส์

8

8

รวมทั้งตำบล

          4.3 อาชญากรรม

                   องค์การบริหารส่วนตำบลคันไร่ไม่มีเหตุอาชญากรรมเกิดขึ้น  แต่มีเหตุการณ์ลักขโมยทรัพย์สินประชาชน  ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลคันไร่ก็ได้ดำเนินการป้องกันการเกิดเหตุดังกล่าว จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า  ส่วนมากครัวเรือนมีการป้องกันอุบัติภัยอย่างถูกวิธี  มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

ปัญหาคือจากข้อมูลที่สำรวจพบว่ามีบางครัวเรือนที่ไม่มีการป้องกันอุบัติเหตุ  อาชญากรรม  วิธีการแก้ปัญหาขององค์การบริหารส่วนตำบลคันไร่ ที่สามารถดำเนินการได้ตามอำนาจหน้าที่และงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด  คือตั้งจุดตรวจ จุดสกัด จุดบริการ  ในช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดหลายวันเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน  แต่ปัญหาที่พบเป็นประจำคือการทะเลาะวิวาทของกลุ่มวัยรุ่นโดยเฉพาะในสถานที่จัดงานดนตรี งานมหรสพ เป็นปัญหาที่หมู่บ้านได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก  การแก้ไขปัญหา คือการแจ้งเตือนให้ผู้ปกครองดูแลบุตรหลานของตน  ประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงผลกระทบ  ผลเสียหาย  และโทษที่ได้รับจากการเกิดเหตุทะเลาะวิวาท  การขอความร่วมมือไปยังผู้นำ การขอกำลังจาก ตำรวจ  ผู้นำ  อปพร.  เพื่อระงับเหตุไม่ให้เกิดความรุ่นแรง  แต่จะไม่ให้เกิดขึ้นเลยยังเป็นปัญหาที่ปัจจุบันไม่สามารถที่จะแก้ไขได้  ทั้งที่มีการร่วมมือกันหลายฝ่าย เป็นเรื่องที่ทางองค์การบริหารส่วนตำบลคันไร่จะต้องหาวิธีที่จะแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนต่อไปตามอำนาจหน้าที่ที่สามารถดำเนินการได้       

4.4  ยาเสพติด

ปัญหายาเสพติดในหมู่บ้านขององค์การบริหารส่วนตำบลคันไร่  จากการที่ทางสถานีตำรวจภูธรคันไร่ ได้แจ้งให้กับองค์การบริหารส่วนตำบลคันไร่ ทราบนั้นพบว่าในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคันไร่ มีผู้ที่ติดยาเสพติดแต่เมื่อเทียบกับพื้นที่อื่นถือว่าน้อย และยังไม่พบผู้ค้า เหตุผลก็เนื่องมาจากว่าได้รับความร่วมมือกับทางผู้นำ  ประชาชน  หน่วยงานขององค์การบริหารส่วนตำบลคันไร่ ที่ช่วยสอดส่องดูแลอยู่เป็นประจำ การแก้ไขปัญหาขององค์การบริหารส่วนตำบลคันไร่ สามารถทำได้เฉพาะตามอำนาจหน้าที่เท่านั้น      เช่น  การณรงค์  การประชาสัมพันธ์  การแจ้งเบาะแส  การฝึกอบรมให้ความรู้  ถ้านอกเหนือจากอำนาจหน้าที่  ก็เป็นเรื่องของอำเภอหรือตำรวจแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลคันไร่ก็ได้ให้ความร่วมมือมาโดยตลอด 

           4.5 การสังคมสังเคราะห์

                    องค์การบริหารส่วนตำบลคันไร่ได้ดำเนินการด้านสงคมสังเคราะห์ ดังนี้

  1. ดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยเอดส์ 
  2. รับลงทะเบียนและประสานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
  3. ประสานการทำบัตรผู้พิการ
  4. ตั้งโครงการช่วยเหลือผู้ยากจน ยากไร้ รายได้น้อย และผู้ด้อยโอกาสไร้ที่พึ่ง            
  5. ตั้งโครงการปรับปรุงซ่อมแซมบ้านคนจน

 ระบบบริการพื้นฐาน

          ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคันไร่มีระบบบริการพื้นฐาน  ดังนี้

          5.1 การคมนาคมขนส่ง

                   องค์การบริหารส่วนตำบลคันไร่  มีถนนลาดยางสายหลักจำนวน 1 สาย คือ ถนนที่เชื่อมระหว่างบ้านคันไร่ไปยังอำเภอพิบูลมังสาหาร ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร มีถนนลูกรังเชื่อมถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก  1 สาย ที่เชื่อมระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบลคันไร่กับอำเภอสิรินธร ระยะทางยาวประมาณ 4 กิโลเมตรต่อถนนลาดยางไปถึงตัวอำเภอสิรินธร  ส่วนถนนในหมู่บ้านส่วนใหญ่จะเป็นถนนลูกรัง นอกจากนี้แล้วก็จะมีถนนคอนกรีตเสริมเหล็กที่จัดสร้างโดยองค์การบริหารส่วนตำบลคันไร่เป็นบางส่วน

                    การบริการรถโดยสาร  จะมีรถโดยสารประจำทางแบบธรรมดา วิ่งรับ ส่งผู้โดยสารจากหมู่บ้านต่างๆ ไปยังตัวอำเภอพิบูลมังสาหารเป็นประจำทุกวัน  และถนนสายอื่นๆที่อยู่ในเขตพื้นที่5.2 การไฟฟ้า
                 การขยายเขตไฟฟ้า ปัจจุบันมีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน คิดเป็น ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์  ปัญหาคือไฟฟ้าส่องสว่างทางหรือที่สาธารณะยังไม่สามารถดำเนินการครอบคลุมพื้นที่ได้ทั้งหมด  เนื่องจากพื้นที่ที่มีความต้องการให้ติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างนั้นยังไม่เป็นที่สาธารณะ  และงบประมาณสำหรับการพัฒนามีอยู่อย่างจำกัด องค์การบริหารส่วนตำบลคันไร่จึงไม่สามารถดำเนินการได้เช่นเดียวกับถนน การแก้ปัญหาคือ  ประสานความร่วมมือกันในหลายๆ ฝ่าย เพื่อที่จะทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่  และวิธีการที่จะดำเนินการแก้ไขอย่างไร  ทั้งนี้  องค์การบริหารส่วนตำบลคันไร่ก็ได้ตั้งงบประมาณในส่วนนี้ไว้แล้ว และได้แจ้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบถึงเหตุผลเพื่อที่จะได้ช่วยกันแก้ไขปัญหาให้กับหมู่บ้านต่างๆ  5.3 การประปา

การประปา  องค์การบริหารส่วนตำบลคันไร่ มีกิจการประปาเป็นของตนเองเองในบางหมู่บ้าน และบางหมู่บ้านดำเนินการเอง  ปัญหาคือ  มีข้อร้องเรียนเรื่องน้ำประปาขุ่นบ่อยครั้ง สาเหตุเนื่องจากเป็นท่อประปาเก่าเกิดการตกตะกอนของ การแก้ปัญหาคือ การลงพื้นที่ดำเนินการแก้ไขตามจุดที่เกิดปัญหาในทันที  การพิจารณาโครงการต่างๆ  ที่ไม่สามารถดำเนินการได้นั้น  เช่น  โครงการซ่อมแซมระบบประปาหมู่บ้าน  องค์การบริหารส่วนตำบลคันไร่ ก็ได้นำบรรจุในแผนพัฒนาท้องถิ่นเพื่อที่จะพิจารณาดำเนินการในปีต่อไป  เมื่อมีงบประมาณและความจำเป็นก็สามารถดำเนินโครงการได้ต่อเนื่อง  เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนต่อไป  ปัจจุบันประชาชนมีประปาใช้ 
5.4 โทรศัพท์

          องค์การบริหารส่วนตำบลคันไร่ มีโทรศัพท์สาธารณะในเขตพื้นที่        จำนวน 16 แห่ง

 5.5 ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์

                   องค์การบริหารส่วนตำบลคันไร่ มีไปรษณีย์ 1 แห่ง ให้บริการ เวลา 08.00 – 16.00 น.       ในวันจันทร์ – เสาร์ (วันเสาร์ครึ่งวัน) หยุดวันอาทิตย์ ตั้งอยู่ ณ บ้านดอนชี หมู่ที่ 10 ตำบลคันไร่ อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี

 ระบบเศรษฐกิจ

6.1 การเกษตร  

ประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคันไร่ ร้อยละ 70 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ  ได้แก่  ข้าว  พริก ข้าวโพด    ดังนี้

-  อาชีพเกษตรกรรม      ร้อยละ       70 ของจำนวนประชากรทั้งหมด        

-  อาชีพเลี้ยงสัตว์          ร้อยละ       13 ของจำนวนประชากรทั้งหมด     

-  อาชีพรับจ้าง            ร้อยละ        8  ของจำนวนประชากรทั้งหมด     

-  อาชีพค้าขาย            ร้อยละ        9  ของจำนวนประชากรทั้งหมด     

ประกาศองค์การบริหารส่วนตำบลคันไร่ เรื่อง นโยบายมาตรฐานคุณธรรม จริยธรรม องค์การบริหารส่วนตำบลคันไร่

จำนวนผู้เข้าชม

2205035
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
187
2841
187
2181065
76115
112528
2205035

Your IP: 162.158.162.246
2024-11-24 01:09